วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

 1.กำเนิดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันเป็นหมู่เหล่าตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว กลุ่มเล็กที่สุดเรียกว่าครอบครัว ถัดขึ้นมาเป็นหมู่บ้าน ตำบล ฯลฯ จนในที่สุดเป็นเมือง เป็นประเทศ มนุษย์แต่ละหมู่เหล่ามีการติดต่อพบปะกัน เพื่อแลกเปลี่ยนอาหาร สิ่งของเครื่องใช้ ยารักษาโรค ฯลฯ ที่ชุมชนตนไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ไม่เพียงพอ จนเกิดเป็นการค้าขายระหว่างหมู่บ้าน ระหว่างตำบล เมือง และประเทศ การติดต่อเช่นนี้ ทำให้เกิดการส่งและรับ ข้อมูลข่าวสารถึงกัน แรก ๆ ก็เป็นการบอกกันปากต่อปากต่อมามีการสื่อสารกันด้วยตัวอักษรที่จารึกบนวัสดุต่าง ๆ ซึ่งต่อมากลายเป็นการส่งจดหมายถึงกัน

   ความต้องการการสื่อสารด้วยวิธีการที่หลากหลายขึ้นมีความรวมเร็วมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีโทรคมนาคม ซึ่งอาศัยหลักวิชาทาง วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนคำพูด ข้อความหรือภาพเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสาย หรือเปลี่ยนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เรียกว่า คลื่นวิทยุ) กระจายไปในอากาศ เมื่อถึงปลายทาง สัญญาณหรือคลื่นที่ส่งไปนั้นก็จะถูกคืนสภาพให้กลับเป็นคำพูด ข้อความหรือภาพเหมือนกับที่ส่งออกไปจากต้นทาง ทำให้ที่อยู่คนละซีกโลกกันสามารถรับรู้ ข้อมูลข่าวของกันและกันได้ภายในชั่วพริบตา

    เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่งมีขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 20 ปี ที่ผ่านมานี้เอง เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการรวมสองเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน คือ เทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คำว่า สารสนเทศ หมายถึงตัวเนื้อหาของข้อมูลข่าวสาร เราใช้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ ปรับเปลี่ยนรูปแบบของสารสนเทศ และเทคโนโลยีโทรคมนาคมซึ่งพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์และเครือข่ายวิทยุมาสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้น เป็นการนำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์ (คำนวณ เปรียบเทียบ และตรวจสอบได้รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ) มารวมกับความสามารถของระบบโทรคมนาคม (ติดต่อได้รวดเร็วและกว้างไกล) ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาจัดการกับสารสนเทศนั่นเอง
    ปัจจุบันนี้ มีการใช้คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งตรงกับคำภาษาอังกฤษว่าInformation and Communication Technology : ICT กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาบนพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งกำลังเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกด้านหนึ่ง คือ เทคโนโลยีการสื่อสารโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสื่อสารไร้สายก็กำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ทำให้เกิดการใช้งาน     ในรูปแบบใหม่ ๆ มากขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยระบบคอมพิวเตอร์ ตัวอย่าง เช่น การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือ ได้แก่ m-Shopping (การซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ) m-Banking (การสั่งจ่ายเงินหรือโอนเงินจากธนาคารผ่านโทรศัพท์มือถือ) m-commerce (ธุรกิจผ่านมือถือ) เป็นต้น นอกจากนี้บริการสอบถามและแจ้งข้อมูลทางโทรศัพท์ซึ่งใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ที่เรียกว่าศูนย์ให้บริการ (Call Center)เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของพัฒนาการใหม่ด้านการสื่อสาร ในกรณีของ Call Center แม้ว่าจะต้องมีระบบคอมพิวเตอร์ติดตั้งอยู่ทางด้านผู้ให้บริการ แต่ทางด้านผู้รับบริการใช้เพียงโทรศัพท์ ก็สามารถรับบริการได้ ซึ่งแตกต่างจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างอินเตอร์เน็ตที่ผู้ใช้บริการต้องมีระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย  อย่างไรก็ตาม ในอนาคตไม่ไกลนัก เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสารมีแนวโน้มจะรวมเข้าด้วยกัน ดังจะเห็นได้จากโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ ที่สามารถรับส่งอีเมล์ได้ คอมพิวเตอร์พกพาบางรุ่นก็สามารถใช้เป็นโทรศัพท์มือถือได้ด้วย วิธีการผสมผสานเทคโนโลยีทั้งสองด้านนี้ เรียกว่า คอนเวอร์เจนซ์ (Convergence)
     2. ประวัติโดยย่อของเทคโนโลยีสารสนเทศ


เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดจากการรวมกันของเทคโนโลยี 2 ด้าน คือ เทคโนโลยีโทนคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งแต่ละด้านมีประวัติหรือพัฒนาการดังนี้
เทคโนโลยีโทรคมนาคม
เริ่มจากการประดิษฐ์โทรเลขของ แซมวล  มอร์ส (Samual  Morse) ในปี พ.ศ. 2380
ในปี พ.ศ. 2401 ได้มีการวางสายเคเบิลใต้มหาสมุทรแอตแลนติก  ทำให้เกิดการสื่อสารข้ามทวีประหว่างทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปขึ้นเป็นครั้งแรก
ในปี พ.ศ. 2419 อเล็กซานเดอร์ แกรแฮม เบลล์ (Alexder Graham Bell) ได้ประดิษฐ์โทรศัพท์ และได้ตั้งชุมสายโทรศัพท์แห่งแรกที่เมืองนิวเฮเวน รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา
ในปี พ.ศ. 2477-2479 จอห์น เฟลมมิง (John  Flemming) และลี เดอ ฟอเรสต์ (Lee  De  Forest) ได้ประดิษฐ์หลอดสุญญากาศ  ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการแปรรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
ในปี พ.ศ. 2479 วลาดิเมียร์ สวอริคิน ( Vladimir  Zworykin)  ได้ประดิษฐ์หลอดภาพโทรทัศน์  ซึ่งเป็นที่มาของจอภาพคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2490 ชอกลีย์  บาร์ดีนและแบรตเทน (Schockley,  Bardeen and  Brattain)  ได้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์  ซึ่งเป็นที่มาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบสานกึ่งตัวนำไอซีและซีพียูในคอมพิวเตอร์
ในปี พ.ศ. 2500 คิลบี และนอยส์ (Jack  Kilby , Robert  Noyce) ได้ประดิษฐ์วงจรรวมหรือไอซี  ซึ่งเป็นเทคโนโลยีย่อส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีสมรรถนะสูงและมีขนาดเล็ก
ในปี พ.ศ. 2504 บริษัทเอทีแอนด์ที ได้สร้าวดาวเทียมสื่อสาร เทลสตาร์ เป็นดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของโลก
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล  แบบเบจ ( Charles  Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์   สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ  ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ หลักการของแบบเบจได้ถูกนำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น  5 ยุค
ยุคที่ พ.ศ.  2489-2501
อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)
ยุคที่ พ.ศ.  2502-2506
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
ยุคที่ พ.ศ.  2507-2512
คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง
ยุคที่ พ.ศ. 2513-2532
คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง
ยุคที่ พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน  
                    คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง

         3. ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
          เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก  ตัวอย่างเช่น
1.  
การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล      ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด   ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย
2.  การดำรงชีวิตประจำวัน  ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน  สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง
3.  การดำเนินธุรกิจ  ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้นทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลาอันส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง
4.  ด้นการติดต่ออัตราการขยายตัวทุก ๆ ด้านที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะมีการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าทันสมัย  รวดเร็วถูกต้องและ   ทำให้เป็นโลกที่ไร้พรหมแดน
5.  ด้านผลผลิต  ระบบการทำงานมีคอมพิวเตอร์มาใช้ซื่อสามารถทำงานได้มากขึ้นงานบางอย่างมนุษย์ทำไม่ได  ้  ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว

 ลักษณะสารสนเทศที่ดี


เนื้อหา (Content)
  • ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)
  • ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
  • ความถูกต้อง (accuracy)
  • ความเชื่อถือได้ (reliability)
  • การตรวจสอบได้ (verifiability)
รูปแบบ (Format)
  • ชัดเจน (clarity)
  • ระดับรายละเอียด (level of detail)
  • รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
  • สื่อการนำเสนอ (media)
  • ความยืดหยุ่น (flexibility)
  • ประหยัด (economy)
เวลา (Time)
  • ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)
  • การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
  • มีระยะเวลา (time period)
กระบวนการ (Process)
  • ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
  • การมีส่วนร่วม (participation)
  • การเชื่อมโยง (connectivity)